ความหมายและประเภทของสมุนไพร
ภาพที่ 1 : ภาพถ่ายยกตัวอย่างสมุนไพร
ที่มา http://www.hollison.com/wp-content/uploads/2014/03/iStock_000016591585Medium.jpg
- สมุนไพร คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือเครื่องสำอาง สำหรับป้องกัน รักษาโรค บำรุงสุขภาพ หรือ เสริมสวย
- สมุนไพรที่ใช้เป็นอาหาร เรียกว่า อาหารสมุนไพร
- สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องดื่ม เรียกว่า เครื่องดื่มสมุนไพร
- สมุนไพรที่ใช้เป็นยา เรียกว่า ยาสมุนไพร
- สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องสำอาง เรียกว่า เครื่องสำอางสมุนไพร
- สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องดื่ม เรียกว่า เครื่องดื่มสมุนไพร
- สมุนไพรที่ใช้เป็นยา เรียกว่า ยาสมุนไพร
- สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องสำอาง เรียกว่า เครื่องสำอางสมุนไพร
- สมุนไพรแผนโบราณ คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่เภสัชกร หรือแพทย์แผนโบราณ และประชาชนนำมาใช้เป็นอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือเครื่องสำอาง สำหรับป้องกัน รักษาโรค บำรุงสุขภาพ หรือเสริมสวย ตามหลักวิชาของแพทย์และเภสัชกรรมไทยแผนโบราณแผนโบราณ หรือจากความรู้ และประสบการณ์ที่บรรพบุรุษในอดีตเคยใช้สืบต่อกันมา
สมุนไพรแผนปัจจุบัน
- สมุนไพรแผนปัจจุบัน คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่แพทย์และเภสัชกรแผนปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ หรือนักโภชนาการนำมาศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย แล้วสกัดเอาสารบางชนิดจากพืช สัตว์ หรือแร่ะาตุ ออกมาใช้เป็นอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือเครื่องสำอาง สำหรับป้องกัน รักษาโรค บำรุงสุขภาพ หรือ เสริมสวย ตามหลักและกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยข้อมูล ความรู้พื้นฐาน หรือประสบการณ์เดิมของแพทย์และเภสัชกรแผนโบราณ หรือประชาชนที่เคยรู้และเคยใช้กันมาตั้งแต่อดีตเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยว่า ในพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุนั้นๆ มีสารเคมีอะไรจึงมีสรรพคุณตามที่คนโบราณกล่าวไว้ โดยนำมาทดลองทั้งด้านเภสัชวิทยาและทางคลีนิค คือ ทดลองใช้กับสัตว์และคนที่เจ็บป่วย
เภสัชวัตถุ
เภสัชวัตถุ คือ วัตถุที่ใช้เป็นสมุนไพรไทยแผนโบราณ มี 3 ประเภท คือ
1. พืช แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1.1 ประเภทต้น เช่น ต้นพิกุล ต้นขี้เหล็ก ต้นมะตูม
1.2 ประเภทเถา, เครือ เช่น เถาบอระเพ็ด, เถาคันแดง
1.3 ประเภทหัว , เหง้า เช่น หัวแห้วหมู, เหง้าข่า, เหง้าขิง
1.4 ประเภทผัก เช่น ผักบบุ้ง ผักหนอก ผักชี ผักกาดน้ำ
1.5 ประเภทหญ้า เช่น หญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าใต้ใบ
1.1 ประเภทต้น เช่น ต้นพิกุล ต้นขี้เหล็ก ต้นมะตูม
1.2 ประเภทเถา, เครือ เช่น เถาบอระเพ็ด, เถาคันแดง
1.3 ประเภทหัว , เหง้า เช่น หัวแห้วหมู, เหง้าข่า, เหง้าขิง
1.4 ประเภทผัก เช่น ผักบบุ้ง ผักหนอก ผักชี ผักกาดน้ำ
1.5 ประเภทหญ้า เช่น หญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าใต้ใบ
2. สัตว์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
2.1 ประเภทสัตว์บก เช่น ควายเผือก หมี งูเหลือม
2.2 ประเภทสัตว์น้ำ เช่น ปลาหมึก หอยสังข์ เต่า
2.3 ประเภทสัตว์อากาศ เช่น นกนางแอ่น ผึ้ง
2.1 ประเภทสัตว์บก เช่น ควายเผือก หมี งูเหลือม
2.2 ประเภทสัตว์น้ำ เช่น ปลาหมึก หอยสังข์ เต่า
2.3 ประเภทสัตว์อากาศ เช่น นกนางแอ่น ผึ้ง
3. แร่ธาตุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 ประเภทแร่ธาตุที่สลายตัวยาก เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน
3.2 ประเภทแร่ธาตุที่สลายตัวเร็ว หรือสลายตัวอยู่แล้ว เช่น สารส้ม พิมเสน เกลือ
3.1 ประเภทแร่ธาตุที่สลายตัวยาก เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน
3.2 ประเภทแร่ธาตุที่สลายตัวเร็ว หรือสลายตัวอยู่แล้ว เช่น สารส้ม พิมเสน เกลือ
หลักสรรพคุณสมุนไพรไทย เราจะทราบว่า สมุนไพรชนิดใด มีสรรพคุณอย่างไร เราจำเป็นต้องรู้ของสมุนไพรว่ามีรสอะไร ถ้าเรารู้รสของสมุนไพรแล้ว เราก็จะทราบสรรพคุณของมัน เพราะรสของสมุนไพรจะแสดงสรรพคุณเอาไว้ รสของสมุนไพรแบ่งออกเป็น 9 รส คือ
1. รสฝาด ชอบสมาน ใช้สมานแผล แก้บิด คุมธาตุ แก้ท้องเสีย
2. รสหวาน ซึบซาบไปตามเนื้อ ทำให้ร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ
3. รสเมาเบื่อ แก้พิษ แก้พยาธิ แก้สัตว์กัดต่อย ขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง
4. รสขม แก้ทางโลหิตและดี แก้ไข้ เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ เจริญอาหาร
5. รสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุ ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร
6. รสมัน แก้เส้นเอ็น บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อยร่างกาย แก้ไขพิการ แก้ปวดเข่าปวดข้อ
7. รสหอมเย็น ทำให้ชื่นใจ บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
8. รสเค็ม ซึบซาบไปตามผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง รักษาเนื้อไม่ให้เน่า แก้ประดง ลมพิษ
9. รสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้เสมหะพิการ แก้ไอ ช่วยให้ระบายขับถายเมือกมัน แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น
1. รสฝาด ชอบสมาน ใช้สมานแผล แก้บิด คุมธาตุ แก้ท้องเสีย
2. รสหวาน ซึบซาบไปตามเนื้อ ทำให้ร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ
3. รสเมาเบื่อ แก้พิษ แก้พยาธิ แก้สัตว์กัดต่อย ขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง
4. รสขม แก้ทางโลหิตและดี แก้ไข้ เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ เจริญอาหาร
5. รสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุ ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร
6. รสมัน แก้เส้นเอ็น บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อยร่างกาย แก้ไขพิการ แก้ปวดเข่าปวดข้อ
7. รสหอมเย็น ทำให้ชื่นใจ บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
8. รสเค็ม ซึบซาบไปตามผิวหนัง รักษาโรคผิวหนัง รักษาเนื้อไม่ให้เน่า แก้ประดง ลมพิษ
9. รสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้เสมหะพิการ แก้ไอ ช่วยให้ระบายขับถายเมือกมัน แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น
This blog presented itself in a very easy and clear way. Owner of this blog found a very simple way to express its view but when you read this blog completely, you would get to know about how hard it could be to express such in a easy way.ถั่ง เช่า คือ
ReplyDelete